คำขวัญโรงเรียนวัดหลักสองราษฎร์บำรุง

บุคคลเกียรติยศของสมุทรสาคร

1. นายชาลี อินทรวิจิตร
ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง
ประวัติ
ชาลี อินทรวิจิตร เดิมชื่อ สง่า อินทรวิจิตร เกิดเมื่อวันที่ 6 ก.ค. 2466 ที่ จังหวัดสมุทรสาคร ศึกษาที่ ร.ร. อำนวยศิลป์ และ ร.ร.วิศวกรรมรถไฟรุ่นแรก ด้วยการที่มีใจรักใน เสียงเพลงเป็นอย่างยิ่งทำให้ทุก เวทีการประกวดร้องเพลง มักจะ มีครูชาลี ขึ้นไปประกวดร้องเพลง อยู่เสมอ และมักจะได้ที่ 1 เกือบ ทุกครั้งไป จนกระทั่งครูล้วน ควันธรรม ชวนไปเป็นนักร้องคณะ "แชมเบอร์มิวสิค" ชีวิตจึงเริ่ม เข้าสู่วงการในช่วงนั้นเอง
"หลัง จากนั้นมีวงดนตรีเกิดขึ้นมาอีกมากมาย แตรวงที่ดังที่สุดในตอนนั้นคือวง "ประสานมิตร" ชาลี อิทรวิจิตร จึงไปเป็นสมาชิก ของวงนี้ และได้พบกับปรมาจารย์ ทางด้านเพลงอย่าง สมาน กาญจนผลิน,ประสิทธิ์ พยอมยงค์ และ สง่า ทองธัช จึง ทำให้ ชาลี อิทรวิจิตรคิดแต่งเพลงเหมือนคนอื่น เขา"
จากวันนั้นก็เริ่มมีบทเพลง ออกมาจากปลายปากกาของครูชาลี เรื่อยๆ ตั้งแต่เพลงแรกคือ"รักชั่วชีวิต" จนถึงเพลงที่ดังจนคนรู้จัก กันไปทั่วคือ"อาลัยรัก" ผลงานที่ ภาคภูมิใจอย่างที่สุดของครูชาลีคือ การได้แต่งเพลงให้กับ ชรินทร์ นันทนาคร ในการสร้างภาพยนตร์ เรื่อง "ลมหนาว" เพลงนั้นคือ "สดุดีมหาราชา"
ผลงาน
รางวัลตุ๊กตาทอง
(พระสุรัสวดี) สุพรรณหงส์ทองคำ และภาพยนตร์แห่งชาติ มีเพลง พระรัตนตรัย , ปิยะ บดินทรมหาราชจาก "ลูกทาส" บ้านทรายทอง ลูกเจ้าพระยา ค่าของคน อาจารย์อ้วนสติเฟื่อง เพชรตัดหยก ไอ้ผาง ร.ฟ.ท. น้ำเซาะทราย ครูจันทร์แรม
รางวัลเมขลา
ทหารเสือพระเจ้าตาก สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
รางวัลแผ่นเสียงทองคำ
อาลัยรัก สตรีหมายเลขศูนย์ น้ำตานกขมิ้น "ร่วมพันครับเพลงที่ผมแต่ง ใช้ เวลาตั้งแต่ 1 ช.ม. น้อยที่สุดจน ถึง 3 วัน" ผลงานของครูชาลีที่ยกตัวอย่างมานี้ก็เป็นส่วนนัอยมาก ถ้าเทียบกับจำนวนงานจริงๆ อาทิ เช่น ครวญ, จำเลยรัก, คู่กรรม, เทวดาเดินดิน,หนึ่งเจ็บนี้ใช้หนี้เธอ, ป่านฉะนี้, ยามชัง,
แสนแสบ, ป่าลั่น, ว้าเหว่, เรือนแพ, ทะเลไม่ เคยหลับ, ทุ่งรวงทอง, หัวใจที่ถอดวาง ,เหมือนไม่เคย, ค่าของคน, ไกลบ้าน, ท่าฉลอม ฯลฯ
         19 พ.ย. 2536 ได้รับการ ประกาศให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง
และแม้วัยจะ ล่วงเลยมา 80 กว่าปีแล้วครูชาลีก็ยัง คงทำงานเพลงที่รักอยู่ "ผมรัก เสียงเพลงเป็นอย่างมาก และคิด ว่าคงจะอยู่กับมันและแต่งเพลงไป จนกว่าจะไม่มีแรง หรือไม่มีวิญญาณที่จะทำต่อ"

2. นายฉลอง ภู่สว่าง

ครูเพลงที่ปั้นให้นักร้องดังได้ในเพลงเดียว
ประวัติ
ชื่อจริง ฉลอง ภู่สว่าง

วัน-เดือน-ปีเกิด อาทิตย์ พ.ศ 2481

การศึกษา ป.4 โรงเรียนเมืองสมุทรสาคร ภูมิลำเนา ต.บางโทรัด อ.เมือง จ.สมุทรสาคร

บิดาชื่อ นายเหลือง ภู่สว่าง มารดาชื่อ นางหนู ภู่สว่าง พี่น้อง 4 คน ชาย 3 คน หญิง 1 คน
ชีวิตครอบครัว ภรรยาชื่อ คุณสมบูรณ์ ภู่สว่าง มีบุตรด้วยกัน 1 คน
ฐานะทางครอบครัวยากจน เรียนได้เพียงชั้น ป.3 ก็ต้องออกมาทำงานบ้านอยู่ 2 ปี จีงกลับไปเรียนจนจบชั้น ป.4 เป็นคนเรียนเก่ง แต่ต้อง ออกมารับจ้างเดินเรือขนส่งเกลือ ไปขายที่กรุงเทพฯ ครั้งหนึ่งเรือเกลือได้ไปจอดค้างคืน ที่ท่าน้ำวัดแหลมสุวรรณาราม ตำบลท่าฉลอม ในคืนนั้นมีงานวัด มีวงดนตรีคณะแมมโบ้ รวมนักร้องที่มีชื่อเสียงมากมาย เช่น สุรพล สมบัติเจริญ, นคร ถนอมทรัพย์ (กุงกาดิน) เด็กชายฉลอง ภู่สว่าง จึงมีโอกาสได้ดูดนตรี จึงเกิดแรงบันดาลใจ อยากจะได้สวมสูทและยืนเป่าเครื่องดนตรี กลับมาบ้านจึงได้ฝึกหัดสีซอกับลุงเติม เมื่อวัยครบเกณฑ์ทหาร ก็ได้ไปรับใช้ชาติ 2 ปี ซึ่งขณะเป็นทหารได้ถูกบรรจุ ให้อยู่ในฝ่ายบันเทิง กองดุริยางค์ทหารเรือ ทำให้มีความสามารถและมีประการณ์มากขึ้น สามารถร้องเพลง แต่งเพลงและเล่น ดนตรีได้บ้างพอสมควร เมื่อออกจากทหารแล้วก็ไปสมัครอยู่กับคณะรำวง ดาราน้อย ที่ชลบุรี ช่วงนั้นได้พบกับนักร้องดังหลายคน เช่น บุปผา สายชล, เรียม ดาราน้อย, พนม นพพร อยู่กับคณะรำวงได้ 5 ปี ก็กลับมาบ้านบางโทรัด ทำงานอยู่ระยะหนึ่ง จากนั้นก็ไปอยู่กับวงดนตรี พนม นพพร แลงวงดนตรีของ บุปผา สายชล เพลงแรกที่แต่งคือเพลง ลาก่อนความโกหก ให้ระพิน ภูไทย ขับร้อง และได้เปิดออกอากาศทางสถานีวิทยุ ได้รับความนิยม พอสมควร จากนั้นก้ได้เริ่มแต่งเพลงต่างๆ ขึ้นมาอีกมากมายหลายเพลง เช่น คุณนายโรงแรม เดี๋ยวรักเดี๋ยวลืม หยุดก่อนคนจน กัมพูชาที่รัก ฯลฯ เพลงประกอบภาพยนตร์ เช่น เพลงรักดอกไม้บาน ทหารเกณฑ์ ผลงานล่าสุด แต่งเมื่อ พ.ศ.2541 แต่งให้กับสุนารี ราชสีมา 12 เพลง รวมผลงานเพลงที่แต่งไป ไม่น้อยกว่า 200 เพลง
ผลงาน

ผลงานที่สร้างชื่อ เพลง อ้อนจันทร์ ขับร้องโดย ศรชัย เมฆวิเชียร, เพลงคิดถึงพี่หน่อย ลาก่อนความโกหก ขับร้องโดย ระพิน ภูไท ฯลฯ

ผลงานเพลงเกียรติยศ ได้รับรางวัลเสาอากาศทองคำพระราชทานจากเพลง อ้อนจันทร์ ขับร้องโดย ศรชัย เมฆวิเชียร เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2520

ที่อยู่ปัจจุบัน

1/1 หมู่ 6 ต.บางโทรัด อ.เมือง จ.สมุทรสาคร

 
3. นายกำพล วัชรพล

จอมคนแห่งหนังสือพิมพ์
ประวัติ

ชื่อเดิม แตงกวย หรือ นิพนธ์ ยิ้มละมัย
เกิดเมื่อ 27 ธันวาคม พ.ศ.2462 ที่บนเรือที่กำลังขึ้นคาน ริมคลองภาษีเจริญ ตำบลดอนไก่ดี อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร
มารดาชื่อ นางทองเพียร ยิ้มละมัย เรียนจบชั้นประถมที่โรงเรียนวัดดอนไก่ดี ท่านเคยเป็นเด็กงัดหัวเรือ ซึ่งเป็นเรือเมล์ขึ้นล่องในคลองภาษีเจริญ และต่อมาเป็นนายท้ายเรือ เคยเป็นเด็กฝึกงานในหนังสือพิมพ์"หลักไท" มีหน้าที่แจ้งความโฆษณา ต่อมาได้มาทำหนังสือพิมพ์"ข่าวภาพ" และได้ถูกสั่งปิดในสมัยรัฐบาล จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จึงมาขอเช่าหัวหนังสือพิมพ์ "เสียงอ่างทอง" ในจังหวัดอ่างทอง เพื่อมาออกในกรุงเทพฯ ได้รับการตอบรับจากประชาชนเป็นจำนวนมาก เมื่อเจ้าของหนังสือพิมพ์ เสียงอ่างทอง ได้ขอคืนนำกลับไปทำเอง จึงได้ขอซื้อหัวหนังสือพิมพ์ "ไทยรัฐ" จาก พล.อ.ท.เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร มาดำเนินการต่อไป จนกระทั่งกิจการหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น จนถึงทุกวันนี้
ท่านได้สมรสกับ คุณหญิงประณีตศิลป์ วัชรพล
เสียชีวิต เมื่อ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2539 เวลา 01.45 น.

ผลงาน

1. เป็นผู้บุกเบิกวงการหนังสือพิมพ์ เข้าสู่ความทันสมัย โดยเป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

2. เป็นผู้ก่อตั้งมูลนิธิไทยรัฐ และสร้างโรงเรียนไทยรัฐวิทยาขึ้นทุกจังหวัด ทั่วประเทศไทย
 
4. พลเอกเกรียงศักดิ์ ชะมะนันท์
อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย
ประวัติ
เกิดเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2460 ที่ตำบลมหาชัย อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ท เป็นบุตรของนายแจ่ม กับนางเจือ ชมะนันทน์ สมรสกับคุณหญิงวิรัตน์ ชมะนันทน์
การศึกษา
โรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย โรงเรียนปทุมคงคา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนเสนาธิการทหารบก โรงเรียนเสนาธิการทหารบกแห่งสหรัฐอเมริกา วิทยาลัยกองทัพบก และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่น 5
ประวัติการทำงาน
พ.ศ. 2493 ฝ่ายเสนาธิการกองทัพภาคที่ 3
พ.ศ. 2495 ผู้บังคับกองพันทหารราบ กรมผสมที่ 21
พ.ศ. 2498 อ.หัวหน้าวิชา โรงเรียนเสนาธิการทหารบก
พ.ศ. 2500 หัวหน้ากรมการวางแผนสำนักงานวางแผนทหารของสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันแห่ง เอเซียอาคเนย์(สปอ)
พ.ศ. 2502 หัวหน้ากองการทหารของสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันแห่งเอเซียอาคเนย์(สปอ)
พ.ศ. 2506 รองเสนาธิการ กองอำนวยการกลาง สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด
พ.ศ. 2516 รองเสนาธิการทหารบก
พ.ศ. 2517 เสนาธิการทหารบก
พ.ศ. 2518 ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารสูงสุด
พ.ศ. 2520 ผู้บัญชาการทหารสูงสุด บทบาททางการเมือง
พ.ศ. 2511 สมาชิกวุฒิสภา และคณะกรรมาธิการต่างประเทศ
พ.ศ. 2515 สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
พ.ศ. 2520 เลขาธิการสภาที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี
พ.ศ. 2520 ทำการรัฐประหารรัฐบาลของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร
พ.ศ. 2520 นายกรัฐมนตรีสมัยที่ 1 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
พ.ศ. 2521 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
พ.ศ. 2522 นายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2 ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2523


ผลงานที่สำคัญ

-การปรับปรุงสัมพันธภาพกับประเทศเพื่อนบ้านอันประกอบด้วย ประเทศเวียดนาม กัมพูชา ลาว และพม่า -ได้เดินทางไปเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนและสหภาพโซเวียตเพื่อ กระชับความสัมพันธ์ กับประเทศมหาอำนาจทั้งสอง ทำให้ไทยมีความสัมพันธ์ ทางการทูตและการค้ากับทั้งสอง ประเทศแน่นแฟ้นขึ้น

- จัดตั้งการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย

- จัดตั้งกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงาน

- จัดตั้งมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิรา